Lecture

                       
  การสร้างลำดับความสำคัญขององค์ประกอบ 
นเว็บเพจหนึ่งหน้าควรมีการแบ่งลำดับขั้นความสำคัญของส่วนประกอบต่างให้เป็นลำดับขั้นว่าสิ่งใดสำคัญมากหรือน้อยกว่าสิ่งใดเพื่อการออกแบบจะได้เน้นให้ผู้ใช้สังเกตและเข้าถึงสิ่งที่เราต้องการเน้นได้ง่ายในทางปฏิบัติการเน้นความสำคัญของส่วนประกอบอาจทำได้โดย

  •      - ใช้การจัดวางตำแหน่งและลำดับ

  • สิ่งสำคัญควรปรากฏด้านบนสุด และตามด้วยสิ่งที่รองลงมา

  • หรือสิ่งที่สำคัญกว่าอยู่ทางด้านซ้ายสุดแล้วตามด้วยสิ่งที่รองลงมา

  • ใช้การกำหนดขนาด

  • สิ่งที่สำคัญกว่าควรมีขนาดใหญ่กว่าสิ่งที่สำคัญรองลงมา 

  •   - สีและความแตกต่างของสี 

  • ใช้สีในการแยกความแตกต่างของส่วนประกอบต่างๆ เช่นหัวข้อใช้สีแบบหนึ่ง ส่วนที่เป็นเนื้อหาก็ใช้สีที่แตกต่างกัน

  • - ภาพเคลื่อนไหว 

  • ใช้ภาพเคลื่อนไหวเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ว่าส่วนนั้นเป็นจุดเน้น
                                 การออกแบบเว็บให้เหมาะสมกับเนื้อหา  
           รูปแบบของเว็บควรจะมีความสอดคล้องกับเนื้อหา เพื่อช่วยในการสื่อความหมายถึงเนื้อหาและช่วยในการสื่อสารกับผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บเข้าใจถึงสิ่งที่ผู้สร้างเว็บต้องการสื่อออกมา สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงคือ
    รูปแบบ – เราควรเลือกรูปแบบเว็บให้เหมาะสมกับเนื้อหาเช่นถ้าทำเว็บไซต์เกี่ยวกับรถยนต์อาจจำลองหน้าเว็บเหมือนกับนั่งอยู่ในรถ
    บุคลิก – บุคลิกของเว็บไซต์เช่น เราอาจสร้างเว็บที่ให้ความรู้สึกสนุกสนาน เป็นกันเอง วิชาการ ทันสมัย ลึกลับ หรืออื่นๆ ทั้งนี้การกำหนดบุคลิกจะขึ้นอยู่กับการใช้คำ การใช้กราฟิก เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเหมือนกันแต่บุคลิกต่างกัน จะให้ความรู้สึกกับผู้ใช้ต่างกันด้วย
    สไตล์ – หมายถึงลักษณะการจัดโครงสร้าง ชนิดตัวอักษรที่ใช้ ชุดสีที่ใช้ ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับเนื้อหาด้วย
                                 ควรมีความสม่ำเสมอตลอดทั้งเว็บไซต์ 
            คือการออกแบบให้เนื้อหาแต่ละหน้าของเว็บมีรูปแบบที่เหมือนกัน เช่น มีการจัดวางองค์ประกอบเดียวกันที่ตำแหน่งเดียวกันทุกหน้า เพื่อทำให้ผู้ใช้มีความรู้สึกว่ายังอยู่ที่เว็บไซต์เดิม ปัญหาที่พบบ่อยคือบางเว็บไซต์ออกแบบแต่ละหน้าแตกต่างกันมากจนทำให้ผู้ใช้สับสนว่ายังอยู่ในเว็บไซต์เดิมหรือไม่ แต่ปัญหาอีกอย่างของการออกแบบที่สม่ำเสมอคืออาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกจำเจกับลักษณะเดิมๆ ซึ่งอาจแก้ไขโดยการเปลี่ยนชุดสีของเนื้อหาแต่ละส่วน
                               จัดวางส่วนประกอบให้เป็นระเบียบ 
            เนื้อหาของเว็บซึ่งประกอบด้วยรูปภาพและตัวอักษรควรมีการจัดวางอย่างเป็นระเบียบ แบ่งแยกเป็นสัดส่วน ทำให้ผู้ใช้มองและอ่านข้อความได้สะดวก สำหรับข้อความที่ยาวมากๆ อาจแบ่งให้ผู้ใช้เห็นทีละส่วน เมื่ออ่านจบส่วนแรกจึง ไปอ่านยังส่วนต่อไปเพื่อไม่ให้เกิดความล้าและเบื่อหน่าย
                               ใช้รูปภาพประกอบอย่างเหมาะสม 
            การใช้ภาพประกอบเป็นสื่อที่ให้ความหมายได้ดีกว่าตัวอักษร แต่สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงคือภาพที่นำมาใช้นั้นต้องมีความหมายตรงกับเนื้อหา มีความเข้ากันได้กับสไตล์ของเว็บ ขนาดของภาพที่นำมาใช้ไม่ควรใหญ่มาก และไม่ควรใช้มากเกินไป
                               คำนึงถึงสภาพแวดล้อมในการใช้งาน 
            ระบบปฏิบัติการ – ระบบปฏิบัติการที่ต่างกันจะส่งผลให้การแสดงเว็บเพจต่อผู้ใช้แตกต่างกันไปด้วย เราควรสำรวจว่าผู้ใช้ของเราใช้ระบบปฏิบัติการใดบ้าง แล้วจึงทำการออกแบบให้รองรับการทำงานของระบบปฏิบัติการเหล่านั้นทั้งหมด
    ความละเอียดหน้าจอ – เนื่องจากผู้ใช้สามารถกำหนดความละเอียดในการแสดงผลหน้าจอของตนเองได้จึงทำให้การแสดงผลเว็บของเราอาจไม่ตรงตามที่เราต้องการให้ผู้ใช้เห็น ดังนั้นการออกแบบของเราควรรองรับความละเอียดหน้าจอที่ผู้ใช้ทั่วไปใช้ (800 x 600) หรืออาจมีข้อความแนะนำว่าควรใช้ความละเอียดระดับไหนในการเข้าชม
    Browser – Browser แต่ละชนิดอาจจะแสดงผลเว็บเดียวกันไม่เหมือนกันทั้งนี้เนื่องจากการแปลชุดภาษา HTML ที่ต่างกันดังนั้นในการออกแบบเราควรกำหนดว่าเราจะออกแบบให้ทำงานกับ Browser อะไร รุ่นไหน เพื่อให้เราทราบข้อกำหนดว่าเราจะสามารถใช้ลูกเล่นอะไรได้บ้างจึงจะทำให้เว็บทำงานกับ Browser ที่กำหนดได้สมบูรณ์ และแจ้งให้ผู้ใช้ทราบก่อนเข้าชม
    การแสดงภาษาและการเลือกตัวอักษร  ปกติการแสดงตัวอักษรในเว็บเพจนั้นผู้ออกแบบสามารถกำหนดรูปแบบของตัวอักษรให้กับข้อความต่างๆได้อย่างอิสระ  แต่ในขณะที่เว็บแสดงต่อผู้ใช้นั้นถ้าผู้ใช้ไม่มีตัวชุดอักษรในรูปแบบที่เรากำหนดในเว็บเพจผู้ใช้จะไม่สามารถอ่านข้อความเหล่านั้นได้เลย โดยเฉพาะการทำเว็บที่ใช้ภาษาไทยเราจึงควรระวังเป็นอย่างยิ่ง วิธีการที่นิยมคือการเลือกใช้รูปแบบอักษรที่คาดว่าจะมีในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ทุกคนเช่น Ms Sans Serif สำหรับภาษาไทย หรือ Times New Roman สำหรับภาษาอังกฤษเป็นต้น